ผมเขียนต้นฉบับนี้ขณะกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในประเทศเยอรมนี ผมจึงจนใจที่จะเขียนเรื่อง Blue Note ต่อให้จบได้ เพราะแผ่นเสียงและข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้อ้างอิงล้วนอยู่ที่บ้าน แต่ครั้นจะเว้นไปอีก ก็ออกจะเกรงใจผู้อ่านและบรรณาธิการอย่างมาก เพราะนี่ก็เว้นมาหลายฉบับแล้ว
ผมจึงขอ “ขัดดอก” ด้วยการเขียนเรื่องจากความจำล้วนๆ โดยผลัดเรื่อง Blue Note ไปก่อน หวังว่าท่านผู้อ่านที่ติดตามข้อเขียนของผมคงจะให้อภัย
ย้อนเวลากลับไปเมื่อหลายปีก่อน สมัยที่ผมยังไม่ได้สะสมแผ่นเสียงและเครื่องเสียง ผมเคยศึกษาเรื่องรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ ทำให้ผมทึ่งในภูมิปัญญาทางด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ของเยอรมัน และพยายามสืบค้นต้นตอว่าปัญญาเหล่านั้นมันก่อตัว ฟูมฟัก และพัฒนามาอย่างไรในสังคมเยอรมัน
ผลพวงของการค้นคว้าครานั้น ทำให้ผมพบว่าอิทธิพลของความคิดและวัฒนธรรมเยอรมัน (German High Culture) ที่มีต่อโลกทัศน์และวิถีชีวิตของฝรั่งปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสังคมอเมริกันนั้น มีอยู่อย่างมากมายมหาศาล
หากผมยกตัวอย่างเฉพาะในแวดวงดนตรี ก็จะเห็นว่าคีตกวีคนสำคัญที่ร่วมบุกเบิกและชี้นำแนวทางดนตรีของฝรั่งในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นคนเยอรมัน นับตั้งแต่ Bach, Handel, Mozart, Mendelssohn, Beethoven, Schumann, Schubert, Strauss, Wagner, Brahms, และ Mahler (บางคนเป็นออสเตรียนซึ่งก็คือเยอรมันในความหมายกว้างนั่นเอง)
อันนี้ยังไม่นับผู้คนในแวดวงวิทยาศาสตร์ซึ่งเราท่านต่างก็รู้กันดีว่าหัวขบวนคนสำคัญอย่างไอนสไตน์ก็มาจากเยอรมัน และแทบจะไม่ต้องพูดถึงความคิดของ Karl Marx ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสร้างสาวกค่อนโลก และของ Sigmund Freud, Max Weber, และ Friedrich Nietzsche ที่มีอิทธิพลต่อปัญญาชนฝรั่งร่วมสมัยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนแห่งสำนัก Post-modernism
สมัยนั้น เพื่อนชาวเยอรมันได้พาผมไปที่โบสถ์เก่าแก่แห่งหนึ่งในแคว้นไรน์ (Rhinegau) แถบที่มีชื่อเสียงมากในการผลิตไวน์ขาวของประเทศเยอรมัน ผมจำชื่อโบสถ์แห่งนั้นไม่ได้เสียแล้ว ทราบแต่ว่าโบสถ์หลังนั้น เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Name of the Rose ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายขายดีของ Umberto Eco นักเขียนอิตาเลี่ยนชื่อก้อง โดยที่ดารานำของเรื่องนั้นรับบทโดย ฌอน คอนเนอรี่ (Sean Connery) อดีตเจมส์ บอนด์ 007 คนแรก
นอกจากชิมไวน์และชมเครื่องจักรที่ใช้ผลิตไวน์ในสมัยโบราณแล้ว ผมยังมีโอกาสได้เข้าไปในตัวอาคารโบสถ์ที่เคยใช้ประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นแต่เพียงห้องโล่งๆ มีเพียงภาพเขียนและไม้กางเขนเก่าแก่แขวนไว้ให้ชม แต่ไม่มีม้านั่งและสังฆบริขารเหลืออยู่เลย ผู้คนก็ไม่มีให้เห็นแม้แต่คนเดียว ผมจึงสัมผัสได้กับบรรยากาศอันประหลาดพิกลบอกไม่ถูกว่ามันวังเวง หรือ ศักดิ์สิทธิ์กันแน่ แต่การที่ผมเป็นพุทธศาสนิกชน ความรู้สึกผมเลยเอนเอียงค่อนไปในแบบแรก นี่ถ้าผมเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่มีศรัทธาในพระเจ้าเป็นเบื้องแรกแล้ว ผมว่าความรู้สึกน่าจะเป็นอย่างหลังมากกว่า
กระนั้นก็ตาม ลึกๆ แล้ว ผมก็ยังสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ของศาสนจักรในอดีต ซึ่งเป็นรากฐานทางภูมิปัญญาหลายด้านของฝรั่งในปัจจุบัน ผมรู้ได้ทันทีในตอนนั้นว่า พวกฝรั่งรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “อคูสติก (Acoustic) มาช้านานแล้ว ผมลองผิวปาก ปรบมือ และฮัมเสียงกลางและต่ำเบาๆ ก็ปรากฏว่าสุ้มเสียงที่ออกมานั้น กึกก้องและน่าเกรงขาม น่าเสียดายที่ผมไม่ได้บันทึกเสียงไว้
สมัยก่อน ยังไม่มีไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง และลำโพง ตลอดจนสายสัญญาณอันก้าวหน้า อย่างเดี๋ยวนี้ ดังนั้น การออกแบบโครงสร้างเชิงสถาปัตยกรรมเพื่อให้ได้เสียงดีและสมบูรณ์จึงจำเป็นมาก หลังคาสูงและเพดานโค้งแบบ “เรือคว่ำ” ประกอบกับการวางตำแหน่งของแสงและพรม ตลอดจนไม้ประดับ ล้วนมีความหมายโดยตรงต่อ “อคูสติก” ของโบสถ์ ช่วยสะกดให้ผู้ศรัทธาสามารถสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ และศักดิ์สิทธ์ของพระผู้เป็นเจ้า ใครที่เคยฟังนักร้องประสานเสียงในโบสถ์แถบยุโรปคงทราบดี สำหรับประสบการณ์ของตัวผมเองที่แม้จะเป็นพุทธศาสนิกชนนั้น บอกได้เลยว่า “ขนลุก” แบบ “ลุกแล้วลุกอีก” ไม่รู้กี่รอบ
ผมเพิ่งได้อ่านบทความในนิตยสาร Wired ฉบับไม่นานมานี้ ว่ามีกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยในอิตาลีได้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบอคูสติกของโบสถ์เก่าในยุโรป โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากสถานที่จริงหลายสิบแห่ง เพื่อติดตั้งเครื่องมือที่เกี่ยวกับการฟังและการบันทึกเสียง เสร็จแล้วก็นำมาวิเคราะห์ในห้องแล็ปอีกชั้นหนึ่ง พวกเขาได้ข้อสรุปว่า โบสถ์ที่สร้างตามแนวสถาปัตยกรรมของยุคบาโรค โดยเฉพาะที่มีเพดานไม้สูงโค้งเป็นรูปเรือคว่ำ ให้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ผมพูดเรื่องนี้ เพราะผมเองก็เพิ่งรู้มาเมื่อไม่นานนี้ว่า ห้องบันทึกเสียงของ Rudy Van Gelder ที่ Englewood Cliffs, NewJersey ก็สร้างตามแนวที่ว่ามานั้น โดยเฉพาะหลังคาไม้ทรงสูง ต่อขึ้นเป็นปิรามิดทรงเรือคว่ำ เช่นเดียวกัน อันนั้นนับเป็นภูมิปัญญาของยุโรปอย่างหนึ่งที่ตกทอดมาสู่อเมริกาปัจจุบัน(อย่าลืมว่า Rudy Van Gelder นั้นก็มีเชื้อสายเยอรมันเช่นเดียวกับ Alfred Lion และ Francis Wolff ผู้ก่อตั้ง Blue Note)
Rudy Van Gelder กับ Alfred Lion และเครื่องเสียงที่สร้างขึ้นเอง
RVG
Rudy Van Gelder เป็น Sound Engineer คนสำคัญของโลกที่บรรดานักฟังและสะสมแผ่นเสียงเพลงแจ๊สชื่นชมในผลงาน อีกทั้งยังเป็นคนที่สื่อมวลชนสายดนตรีและ Sound Engineer รุ่นหลังให้ความเคารพ แผ่นเสียงเพลงแจ๊สที่เขาเป็นผู้บันทึกเสียง ล้วนมีราคาค่างวดสูงมากในตลาดของสะสมปัจจุบัน เป็นเป้าหมายที่นักสะสมทั่วโลกควานหามาครอบครอง (อันที่จริงเขาเคยบันทึกเสียงเพลงคลาสสิกและเพลงร้องในโบสถ์ด้วย แต่แผ่นเหล่านั้นกลับไม่เป็นที่นิยมของนักสะสม) แผ่นเสียงของค่าย Blue Note, Prestige, Ad Lib, Savoy, Regent และ Impulse ที่เขาเป็นผู้บันทึกเสียงนั้น ให้บรรยากาศของวงดนตรีแจ๊สในยุค Hard Bob และ Free Jazz ได้ดีที่สุด
นับเป็นโชคของคนรุ่นหลังอย่างผมที่ยังสามารถรับรู้ถึงจิตวิญญาณของยุคสมัยตลอดจนฝีไม้ลายมือของศิลปินแจ๊สที่ผมชื่นชอบและอารมณ์แวดล้อมในยุคที่ผมยังไม่ทันเกิดได้ โดยผ่านแผ่นเนสียงเก่าที่ยังหลง
เหลืออยู่เหล่านั้น สไตล์เสียงของ Van Gelder ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะในยุคที่เขายังบันทึกเสียงด้วยระบบโมโน เสียงทุกเสียงมันจะกระฉับกระเฉง จริงจัง ดนตรีเป็นดนตรี เสียงแตรก็ฟังเหมือนมันแผดออกมาจากปากแตร (Horn) ตรงๆ เลย เสียงเปียโนก็เป็นเสียงที่เกิดจากการเคาะออกมาเป็นลูกๆ ไม่มีการใช้ Reverb ช่วย (เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาใช้ Reverb ช่วยน้อยมาก) ส่วนเสียงเบสและกลองก็กระชับ ฟังแล้วรู้ว่านักดนตรีทุกคนตั้งใจเล่น เสียงของดนตรี Hard Bob ยุคนั้น ทั้งค่าย Blue Note หรือ Prestige มันฟังดูดิบและแทบจะไม่มีการปรุงแต่งเลย
ธรรมดา Van Gelder จะไม่พูดถึงอุปกรณ์และเทคนิคที่เขาใช้ในห้องบันทึกเสียง เพราะถือว่าเป็นเคล็ดลับของเขา แต่เมื่อไม่นานมานี้ เขาก็ให้สัมภาษณ์มากขึ้น แล้วก็พูดมากขึ้นด้วย อาจเป็นเพราะเขาต้องออกมาช่วยประชาสัมพันธ์ซีดีชุด RVG Series ที่ค่ายเพลงแจ๊สหลายค่ายนำเทปมาสเตอร์ที่เขาเคยบันทึกเสียงไว้อย่างเป็นตำนานเหล่านั้น กลับไปขอให้เขาทำให้ใหม่ (Re-master) ด้วยเทคโนโลยีของยุคปัจจุบัน
ผมเคยค้นคว้าแล้วพบว่า Van Gelder ในยุคแรกนั้น ใช้แอมปลิฟลายเออร์ที่ต่อเองทั้งหมด แม้แต่ Mixer และ Console ก็สร้างเองทั้งหมด แต่เลือกบันทึกเสียงดนตรีลงมาสเตอร์เทปด้วยเทปรีล (Reel-to-reel) ของ AMPEX ที่มีอยู่ถึงสี่ตัว เรารู้อีกว่าเขาใช้ไมโครโฟน TELEFUNKEN รุ่น U-47 และใช้จำนวนน้อยตัว (เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า “When one mic will do the job. I never use two”) เขาใช้เครื่องตัดแผ่นเสียงของ SCULLY ในการทำแผ่นมาสเตอร์ให้กับค่ายเพลงต่างๆ และที่น่าแปลกก็คือ ทั้งเขาและบรรดาโปรดิวเซอร์ตลอดจนศิลปินในยุคนั้น ต่างก็ได้สดับสำเนียงเสียงของพวกเขาในแบบโมโนผ่านลำโพง Monitor ของ ALTEC
Lee Morgan กับ Telefunken U-47
@RVG Studio
Van Gelder เคยเล่าถึงวิธีการทำงานของเขากับ Alfred Lion และ Bob Weinstock ในการบันทึกเสียงอัลบั้มยุคแรกของค่าย Blue Note และ Prestige ว่าพวกเขาล้วนได้ยินสำเนียง (Monitor) ของตัวเองในระบบโมทั้งสิ้น
ผมลองจินตนาการว่าตอนนั้นเป็นตอนที่พวกเขาเพิ่งบันทึกเสียงกับวงของ Miles Davis เสร็จ จากนั้นทุกคนก็เข้ามาในห้อง Control Room เพื่อเปิดฟังผลงานที่เพิ่งบรรเลงจบไปหมาดๆ ด้วยเทปรีลเพื่อผ่านออกลำโพง ALTEC เพียงข้างเดียว แล้วก็ผลัดกันวิจารณ์ว่าอยากให้สำเนียงเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเป็นแบบโน้นแบบนี้ในแต่ละช่วงของเพลง แล้วก็มีการ Take และตัดต่อเทป โดยที่สุดก็ได้ออกมาเป็นเทปมาสเตอร์และแผ่นมาสเตอร์ตามลำดับ จนปั๊มออกมาเป็นแผ่นเสียง Blue Note หรือ Prestige อย่างที่ตกทอดมาให้เราได้ฟังกันทุกวันนี้
ในความเห็นของผม ถ้าตัดสินโดยเอาผลงานที่ยังคงอยู่ในร่องแผ่นเสียงที่ตกทอดมาสู่พวกเราแล้ว ผมว่างานที่พวกเขาเพียรต่อจิ๊กซอว์จนครบทั้งกระบวนการดังว่านั้น เทียบได้กับงานศิลปะหรือ Work of Art เลยทีเดียว เพราะงานสร้างสรรค์ทางดนตรีแจ๊สในสมัยนั้น มันไม่ได้จบกันเมื่อศิลปินบรรเลงเสร็จสิ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการ Sound Engineering และ Producing ที่มีส่วนกำหนดคุณภาพโดยรวมของงานทั้งชิ้นด้วย
ในวงการแจ๊สนั้น ชื่อเสียงของ Van Gelder ได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว แม้เขาจะไม่ใช่นักดนตรีแต่ชื่อเสียงของเขาก็ไม่แพ้ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้น และเพราะเขาเลือกทำงานแบบฟรีแลนซ์ ไม่ยอมเป็นลูกน้องใคร เขาจึงได้ทำงานกับทุกค่ายเพลง ไม่จำกัดเฉพาะกับค่ายใดค่ายหนึ่ง ทำให้ผลงานของเขากระจายครอบคลุมวงการดนตรีแจ๊สในยุคที่แจ๊สรุ่งเรืองถึงขีดสุด
อันที่จริง เขาร่ำเรียนมาเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตรวจวัดสายตา แต่เขาชอบเล่นวิทยุสมัครเล่นเป็นงานอดิเรกเมื่อตอนเด็ก แล้วก็หันมาเล่นเครื่องเสียงประเภท D-I-Y หนักเข้าก็ตั้งห้องบันทึกเสียงเองโดยอาศัยห้องนั่งเล่นที่บ้านเป็นสตูดิโอ เริ่มจากเพื่อนแถวบ้านละแวก Hackensack ที่ต้องการมีผลงานเพลงไว้อวดสาวก่อน ต่อมาชื่อเสียงของเขาก็ขยายออกไป จนเข้าหูค่ายเพลงระดับใหญ่ กระนั้นก็ตาม ในระยะสิบปีแรก เขายังทำงานด้านสายตาเป็นหลัก และบางวันก็ค่อยมารับงานบันทึกเสียง เขาเคยเล่าว่า “I was examining eyes one day, and Wednesday, I’d be recording Miles Davis”
การที่เขาได้มีโอกาสบันทึกเสียงศิลปินดาวรุ่งในสมัยนั้นอย่าง Miles Davis, Thelonious Monk, Sonny Rollins, J.J. Johnson, หรือ John Coltrane ทำให้ทั่วโลกรู้จักเขา ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์ศิลปินแจ๊สจำนวนมากที่มีต่อเขา ส่วนใหญ่บอกว่าเขาเป็นคนน่ารัก แต่ยึดระเบียบวินัยเคร่งครัดมาก เขาต้องใส่ถุงมือเสมอเมื่อจับไมโครโฟน และจะไม่ยอมให้เอาอาหารหรือบุหรี่เข้ามาในห้องควบคุมเด็ดขาด อาจจะเพราะความมีระเบียบในการดำเนินชีวิตนี้กระมังที่ช่วยให้เขามีอายุยืนมาจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่พรรคพวกเหล่านั้นล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว
John Coltrane ระหว่างพักยก ณ Van Gelder Studio ในวันที่ไปอัดอัลบั้มประวัติศาสตร์ A Love Supreme
เมื่อเขาโด่งดัง งานก็ชุกมากขึ้น ที่เคยบันทึกเสียงอาทิตย์ละวัน ก็กลายเป็นอาทิตย์ละหลายวัน ที่เคยจบแต่หัวค่ำ ก็ลุกลามไปจนดึกดื่น ไม่ก็สว่างคาตา ทำให้พ่อแม่เขาเริ่มอึดอัด เขาจึงคิดขยับขยาย และนั่นจึงเป็นที่มาของห้องสตูดิโอ Englewood Cliffs ที่กล่าวมาแล้ว ผมเข้าใจว่าเขาย้ายมาทำงานที่สตูดิโอนี้เมื่อปี 2502 ตรงกับช่วง Blue Note 4000 Series และถ้าผมจำไม่ผิด แผ่น Blue Note อัลบั้มแรกที่บันทึกเสียงจากห้องสตูดิโอใหม่นี้คือแผ่นหมายเลข 4018 ของ Walter Davis JR. ชุด Davis Cup ซึ่งนับเป็นแผ่นระดับหายากและเป็นหัวกะทิแผ่นหนึ่งของ Blue Note 4000 Series ส่วนอัลบั้มที่สองเป็นของ Horace Silver ชุด Blowin’ the Blues Away หมายเลข 4017 (แม้จะบันทึกเสียงทีหลังแต่ออกจำหน่ายก่อน) และถ้าจะดูรูปสตูดิโอนี้ ก็ให้ดูที่ปกอัลบั้มของ Stanley Turrentine with the Three Sounds ชุด Blue Hours หมายเลข 4057 ก็จะสังเกตเห็นการจัดวางเครื่องดนตรีและตำแหน่งไมโครโฟน เพื่อให้ได้เวทีเสียงในแบบของ RVG ในยุคสเตอริโอ
ในความเห็นของผม ถ้าให้ผมเลือกแผ่นที่บันทึกเสียงจากห้องนี้ที่ให้เสียงสมบูรณ์ที่สุดแล้ว ผมยกให้อัลบั้ม Blue Note หมายเลข BST-4153 เวอชั่นสเตอริโอของ Grachan Moncur III ชุด Evolution และอัลบั้ม Impulse หมายเลข AS-77 เวอชั่นสเตอริโอของ John Coltrane ชุด A Love Supreme ซึ่งผมคิดว่าทั้งการบันทึกเสียงและการบรรเลงดนตรีของศิลปินทุกคนในนั้นก้าวเขาสู่เขตแดนที่เหนือชั้นเป็นอย่างยิ่ง ด้านการบันทึกเสียงโดยเฉพาะแผ่นแรกนั้นดีกว่าค่ายเพลงสมัยใหม่อย่าง Sheffield Lab หรือ MFSL หลายขุม ส่วนแนวดนตรีนั้น ทั้งคู่จัดได้ว่าอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุค Hard Bob ไปสู่ Free Jazz ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนจากการปรับตัวของ Jackie Mclean, Lee Morgan, และ John Coltrane
แผ่น Blue Note ชุดนี้บันทึกเสียงได้ดีเยี่ยมในความเห็นของผมที่นักสะสมแผ่นเสียงควรมีไว้ครอบครอง
ศิลปินแจ๊สรุ่นใหญ่หลายคนเคยพูดถึงสตูดิโอแห่งนี้ว่ามันอบอุ่นเหมือนบ้าน เพราะอันที่จริง RVG และครอบครัวก็อาศัยอยู่ที่นั่นด้วย แต่เขาทำงานเพียงจันทร์ถึงเสาร์เท่านั้น ผมเคยดูนิตยสารแจ๊สญี่ปุ่น ได้เห็นคอแจ๊สที่ไปแสวงบุญถ่ายรูปกลับกันมาเป็นจำนวนมาก
ส่วนทางด้านเทคนิคเชิงอคูสติกของห้องสตูดิโอนั้น ผมเคยลองประมวลผลออกมาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับตัวเองว่าหากจะสร้างห้องฟังสักห้อง ก็คิดว่าจะเลียนแบบห้องสตูดิโอของ RVG แห่งนี้แหละ
จากการค้นคว้า ผมพอจะประมวลคร่าวๆ ได้ว่าสตูดิโอแห่งนี้สร้างตามแนวสถาปัตยกรรมของโบสถ์ในยุโรป เพียงแต่ออกแบบให้ทันสมัยกว่า ฐานเป็นรูปเพชร ความสูงวัดจากจุดยอดสุดของหลังคาเกือบ 15 เมตร พื้นเป็นปูนขัดมัน ผนังก่อจากอิฐบล็อกไม่ฉาบปูน สูงประมาณ 4-5 เมตร ต่อจากนั้นเป็นคานไม้พาดและพิงกันเข้าเป็นโครงข่ายทรงปิรามิด มุงหลังคาด้วยไม้บล็อกเล็กๆ จำนวนมาก กุมเข้าด้วยกันจนถึงยอดปิรามิด อุปมาอุปมัยคล้ายเรือคว่ำ ผนังด้านหนึ่งวางม้านั่งยาว กับมีพรมและต้นไม้วางไว้ในมุมเดียวกับเครื่องดนตรี มีห้อง Control Room เล็กๆ อยู่ด้านทิศใต้โดยมีกระจกกั้น แสงไฟในห้องไม่จ้าเกินไป และถ้าสังเกตจากรูปถ่ายสมัยนั้น จะเห็นว่าเปียโนถูกจัดวางไว้ตรงมุมห้องพอดี ถัดมาทางซ้ายจะเป็นเบส และถัดมาอีกแต่เยื้องมาตรงกลางห้อง (ข้างหน้าทางปีกซ้ายของเปียโน) จะเป็นกลอง ส่วนเครื่องเป่าจะอยู่ด้ายปีกขวาหน้าของเปียโน
ตำแหน่งการจัดวางเครื่องดนตรี @RVG Studio
ผมไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก และพื้นฐานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ก็เพียงงูๆ ปลาๆ เท่านั้น ผมจึงไม่สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ระบบอคูสติกของห้องแบบนั้นได้ว่ามันดีเลวกว่าห้องสมัยใหม่ที่นิยมสร้างกันในสมัยนี้หรือไม่ อย่างไร แต่จากการสดับฟังผลงานที่ผลิตจากห้องนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแผ่น Blue Note 4000 Series แล้ว ผมคิดว่า ถ้าเอาไอเดียของ RVG มาแปลงกลับเป็นห้องฟัง ก็น่าจะให้ผลลัพธ์ที่เราท่านอาจคาดไม่ถึงก็เป็นได้
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Audiophile ฉบับเดือนตุลาคม 2550
15 ความคิดเห็น:
Αpprеciatіon tο my father ωho informed me cοnceгning this blog, this weblοg is in fact remaгkаble.
Alѕo visit my webpage ... vapornine.com
my page > vapornine
Ι аm reаlly іmpresseԁ аlоng with уοur writing talents and also with the
structure for your blog. Is thiѕ а ρaid subject or did yοu moԁіfy it
yοursеlf? Anyway stау up the exсellent quality wгiting, іt is uncοmmon tο looκ a nіce wеblog lіke
this one these daуs..
mу weblog: pikavippii.net
my web page: pikavippi
Ηello there, Theгe's no doubt that your web site may be having internet browser compatibility problems. When I look at your website in Safari, it looks fine but when opening in IE, it's gοt
some oѵerlapping іssueѕ. I meгelу wаnted to gіve you a quick headѕ up!
Besides thаt, fantastic blog!
Also visіt my web blog :: build your twitter followers
My website - 500 followers on twitter
I’m not that much of a online reaԁеr
to be honest but your sites reallу nice, keep it up!
I'll go ahead and bookmark your site to come back later. Cheers
My page ... www.guydbook.com
Also visit my web page ... clayton mobile homes prices
Hi there! This is my first visit to your blog! We are a team of volunteers and starting a new initiative in a community in the same niche.
Your blog provided us beneficial information to work on.
You have done a outstanding job!
Feel free to visit my webpage; zulutrade
Hi everybody, here every one is sharing these know-how, thus it's fastidious to read this weblog, and I used to pay a visit this website all the time.
Also visit my page ... marketing in a business
I know this site provides quality depending articles
and extra stuff, is there any other site which offers these
data in quality?
Here is my page; get followers
Unquestionably believe that which you stated. Your favourite reason appeared to be on the internet the
simplest factor to bear in mind of. I say to you,
I certainly get irked whilst other folks think about worries that they plainly do not recognise about.
You controlled to hit the nail upon the highest as smartly as outlined out the entire thing with no need side effect , folks could take a signal.
Will likely be again to get more. Thanks
Feel free to surf to my blog - get more followers for twitter
Fabulous, what a webpage it is! This weblog presents valuable information to us, keep it up.
My site; show you the COOL way I make 100 Bucks daily In 2 hours with Free Solo Ads
Greetings, I think your web site could possibly be having
browser compatibility issues. Whenever I take a look at your website in Safari, it looks fine but when opening in I.
E., it has some overlapping issues. I simply wanted to give you a quick heads up!
Besides that, wonderful blog!
Also visit my blog: option fair
my web page :: option fair
Howdy! I know this is kind of off topic but I was
wondering if you knew where I could get a captcha plugin for
my comment form? I'm using the same blog platform as yours and I'm having problems finding one?
Thanks a lot!
Feel free to visit my web page; get followers
Do you have a spam problem on this blog; I also am a blogger, and I was wanting to know your situation;
many of us have created some nice methods and we are looking to trade strategies
with others, why not shoot me an e-mail if interested.
my web site; your-task.com
Also see my site - promote your website/page more than 500000 people on Facebook
Amazing blog! Is your theme custom made or did you download it from somewhere?
A theme like yours with a few simple adjustements would really make my blog
jump out. Please let me know where you got your design. Many
thanks
Also visit my webpage ... option fair
I'm really loving the theme/design of your web site. Do you ever run into any internet browser compatibility issues? A couple of my blog readers have complained about my blog not operating correctly in Explorer but looks great in Opera. Do you have any solutions to help fix this issue?
my web page: Prostate massager
แสดงความคิดเห็น